allaboutpiano

วิธีเลือกซื้อเปียโนมือสอง ตอน 6 Check lists สำหรับตรวจสอบงาน recondition เปียโนมือสอง

In เลือกซื้อเปียโน, piano technical information on June 21, 2011 at 6:54 am

ท่านสามารถตรวจงานซ่อมหรืองาน recondition ของเปียโนมือสองได้ โดยดูจากการเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลือง ขั้นตอนนี้สามารถตรวจสอบได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
เพียงแต่ท่านต้องที่ทราบก่อนว่ามีอะไหล่สิ้นเปลืองส่วนใดบ้างที่ช่างจำเป็นต้องเปลี่ยนก่อน เพื่อให้เปียโนทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ส่วนการตรวจสอบงานปรับแต่งกลไก หรือการ regulation ท่านจำเป็นต้องให้ช่างตรวจสอบ เพราะเป็นงานที่ต้องอาศัยความชำนาญ และทักษะที่สูง อย่างไรก็ดีหากท่านสามารถรับรู้ได้เมื่อท่านเล่นบนเปียโนที่มีกลไกทำงานอย่างผิดปกติ

ช่างเปียโนที่ ปีเตอร์สัน เปียโน แกลเลอรี่ เป็นคนสอนขั้นตอนต่างๆให้ผม หลังจากที่ผมได้แวะไปชมเปียโนที่หลายครั้ง พูดถึงปีเตอร์สัน เปียโน ครั้งแรกที่ผมขับรถผ่านโชว์รูม ผมเห็นแกรนด์เปียโนอยู 2-3 หลัง เท่านั้น วันที่ผมเข้ามาที่นี่รั้งแรก เลยไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก แต่เมื่อประตูลิฟต์ของโชว์รูมชั้น 3 เปิดออก ผมว่าผมเห็นโชว์รูมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพแล้ว ชั้นนี้ชั้นเดียวมีเปียโนวางอยู่ 80 หลังได้ เป็นแกรนด์เปียโนประมาณ 20 หลัง ที่เหลือก็เป็นอัพไลท์เปียโน ชั้นนี้เขาแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งหนึ่งโชว์เปียโนใหม่ที่นำเข้าจากยุโรป Petrof Schimmel Sauter Seiler WIlh. Steinberg Kemble และอีกฝั่งหนึ่งโชว์เปียโนมือสอง Yamaha Kawai Eterna Miki Kaiser Atlas

ผมได้มีโอกาสคุยกับช่างเปียโนที่นี่หลายครั้ง ระหว่างที่ได้มาลองเปียโน จนเริ่มสนิทกัน เขามักจะอยู่จูนเปียโนอยู่ในโชว์รูม เพื่ออธิบายการ recondition เขาพาผมไปดูการทำงานของช่าง ซึ่งอยู่ที่ชั้น 7 ที่ชั้นนี้ แบ่งการทำงานเป็น 4 โซน

โซนที่ 1 เป็นโซนทำความสะอาดภายในเปียโน ช่างจะถอดคีย์เปียโน และกลไกแอ๊คชั่นออก เพื่อให้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น นอกจากจะดูดฝุ่นใต้คีย์ และทำความสะอาดด้านใน ตามปกติแล้ว ช่างจะขัดสายเปียโน หมุดจูน และอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ภายในเปียโนด้วย

โซนที่ 2 ช่างจะนำแอ๊คชั่นเปียโนมาถอดออกเป็นชิ้น ๆ เพื่อให้การเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลือง(ที่หมดอายุแล้ว) ภายในแอ๊คชั่นออกได้ง่าย ขึ้น เช่น Briddle strap, Butt spring cord (Loop cord), center pin และ สักหลาดใต้คีย์เปียโน เช่น balance front key , key bushing cloth,

โซนที่3 เป็นโซนสำหรับตกแต่งสีบอดี้ภายนอก และเก็บรอยตำหนิ

โซนที่ 4 ช่างจะนำกลไกแอ๊คชั่น และคีย์เปียโน ที่ถอดออก มาประกอบกลับเข้าไป และทำการปรับระยะห่างต่างๆของกลไก (regulation) เพื่อให้กลไกทำงานได้แม่นยำ เช่น ปรับ loss motion, ปรับ let off, ปรับ Key spacing & angle, ปรับ spoon (touching), ปรับ key dept, ขัดหัวค้อน และ voicing ก่อนที่จะย้ายเปียโนลงโชว์รูม และจูนเปียโนเป็นขั้นตอนสุดท้าย

สำหรับการการตรวจสอบการเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลือง เพื่อให้ง่าย ผมขอเขียนเป็นรายการตรวจสอบการ recondition เป็นข้อๆ ดังนี้

1. การตรวจเชือกเล็กๆ (butt spring cord หรือ Loop cord) จำนวน 88 เส้นนี้ว่า ได้ถูกเปลี่ยนหรือยัง?

จากรูป จะเห็นเชือกเส้นเล็กๆที่ม้วนเป็นห่วงคล้องอยู่รอบๆขอเกี่ยวที่เป็นโลหะ ช่างเรียกว่า butt spring cord แต่ผมเรียกเชือกนี้ง่ายๆว่า “Loop Cord” มันมอยู่ 88 เส้นตามจำนวนคีย์เปียโน และอยู่ภายในกลไก (action) เชืิอกเหล่านี้มีหน้าที่ทำให้คีย์เปียโนแต่ละคีย์คืนกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมให้เร็วที่สุด หลังจากผู้เล่นกดคีย์เปียโนไป Loop cord ที่สมบูรณ์จะทำให้คีย์เปียโนคืนกลับตำแหน่งเดิมได้เร็ว ซึ่งช่วยให้ผู้เล่นเปียโน เล่นเพลงท่อนเร็วๆได้ง่ายและไพเราะ

เนื่องจาก loop cords มีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปีเท่านั้น เมื่อหมดอายุมันจะเริ่มขาดทีละเส้น ทีละเส้น เปียโนที่มี loop cord ขาดอาจยังพอเล่นได้ แต่ ผู้เล่นสามารถรับรู้ได้ว่ามีบางอย่างในกลไก action ที่ทำงานผิดปกติ การตอบสนองของคีย์เปียโนไม่สม่ำเสมอ เพราะกลไกทำงานได้ไม่เป็นระเบียบ และช้าลงมาก ขาดสมดุลย์ ส่งผลให้ผู้เล่นไม่สามารถคาดเดาการตอบสนองของคีย์ขณะเล่นได้ ซึ่งเป็นผลเสียต่อพัฒนาการของผู้เล่นในระยะยาว

การตรวจสอบ loop cord สามารถทำได้ไม่ยาก ท่านจึงควรตรวจสอบด้วยตนเองว่า เปียโนมือสองที่ท่านซื้อ ได้รับการเปลี่ยน loop cord ทั้ง 88 เส้นแล้วหรือยัง? เท่าที่ี่ผมสังเกตุดู ร้านขายเปียโนมือสองส่วนมากไม่ได้เปลี่ยน loop cord ใหม่ ผมเองก็ไม่ทราบว่าทำไมเขาไม่เปลี่ยน loop cord ให้ลูกค้า เพราะต้นทุนการเปลี่ยนก็ไม่ได้มากมายอะไร อาจเป็นเพราะเขาไม่ทราบว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ และส่งผลมากต่อผู้เล่น หรืออาจเพราะเขาไม่มีช่างที่จะมาทำงานด้วย
ท่านจึงควรให้ร้านเปียโนที่ท่านซื้อเปียโนด้วย ชี้ให้ท่านเห็นว่าเขาได้เปลี่ยนเชือกเหล่านี้แล้วจริงๆ และไม่ควรเชื่อเพียงคำพูดลอยๆว่าเขาได้เปลี่ยนเชือกนี้แล้ว

วิธีการในการตรวจง่ายๆ คือ การใช้ไขควงไขสกูร 3 ตัวที่ยึดกลไกอยู่ออก และให้เขาชี้ตำแหน่งที่ตั้งของเส้น loop cards ให้ท่านเห็น loop cord ที่ถูกเปลี่ยนแล้วจะมีสีขาว และมีสภาพใหม่ (Loop cord สีเขียว คือ loop cord เก่าที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยน)

ภาพข้างต้น แสดงจุดที่จะไขสกรูออกด้วยมือ เพื่อถอดกลไก action ถูกนำออกได้ง่ายเพื่อท่านจะสามารถตรวจเส้น loop cord ได้

นอกจากนั้นท่านควรถามร้านเปียโนที่ท่านจะซื้อไปตรงๆว่า เขาได้ซ่อมกลไกส่วนไหนบ้าง? หรือซ่อมสีตัวเปียโนส่วนไหนบ้าง? หรือเปลี่ยนสายทองแดงใหม่เส้นไหน? หรือเปลี่ยนหัวค้อน หรือเปลี่ยนสักหลาด หรือdamper หรือ ชื้นส่วนอื่นๆ ที่จุดไหนบ้าง? และทำอย่างไร? คำถามเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มาก เมื่อท่านถามลึกถึงรายละเอียดที่เขาได้ซ่อมเปียโนหลังนี้มา ท่านไม่ควรพอใจกับคำตอบลอยๆ ที่บอกว่าทางร้านได้ซ่อมทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อให้เปียโนหลังนี้ อยู่ในสภาพพร้อมขายแล้ว

2. สภาพสีภายนอกของเปียโน: ร้านค้ามักใช้คำว่า สภาพดีมาก หรือ สภาพดีทีสุด หรือ สภาพเหมือนเปียโนใหม่ เพื่ออธิบายลักษณะสีภาพนอกของเปียโน แต่ผมแนะนำให้ท่านถามคำถามเหล่านี้กับเขาแทน

– เปียโนหลังนี้มีรอยที่ตำแหน่งใดบ้าง (ปกติมักจะมี)
– มีร่องรอยการซ่อมสีตัวบอดี้ภายนอกของเปียโนที่ไหนบ้าง (ปกติมักจะมี)
– เปียโนหลังนี้ผ่านการพ่นสีใหม่ทั้งหลัง หรือพ่นแค่เพียงบางส่วน หรือแค่ผ่านการขัดด้วยเครื่องขัดเท่านั้น
– มีงานที่ทำด้วยทองเหลืองจุดใดบ้างที่ยังขัดไม่เงา และดูสมบูรณ์ (ปกติมักจะมี)
งานทำสีภายนอกที่ผมเห็นช่างสีที่ปีเตอร์สัน ทำในวันนั้นละเอียดมาก เพราะเขาจะลอกเอาผิวชั้นบนสุดของ polyester ออกก่อน แล้วจึงพ่นใหม่ ต่อด้วยการขัดอีกครั้งด้วยเครื่อง และขัดละเอียดอีกครั้งด้วยมือ ท่านจะไม่พบรอยขีดข่วนใดๆหลังจากทำ ดังภาพตัวอย่างประกอบ 2-3 ภาพข้างล่าง

3. กลไกเปียโน (action) : กลไกเปียโนเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากของเปียโน และเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการการเอาใจใส่ และการปรับแต่งด้วยอย่างละเอียดอยู่เป็นระยะๆ หากช่างซ่อมกลไกที่ท่านใช้บริการเป็นช่างที่ไม่มีความสามารถ เปียโนท่ีซ่อมเสร็จอาจมี loss motion มาก หรือท่านจะพบปัญหาคีย์ค้าง หรือปัญหาคีย์ที่สั่นไปมาได้ หรือได้กลไกที่มีีการตอบสนองของคีย์ช้า ท่านควรถามร้านเปียโนไปตรงๆว่า ช่างที่เขาจ้างมาซ่อมเปียโน ผ่านการฝึกหัดมาจากที่ใด ผ่านการอบรมจากสถาบันที่น่าเชื่อถือหรือไม่ และมีประสบการ์ณการทำงานมากี่ปี แล้ว โดยควรถามชื่อช่างที่ซ่อมเปียโนของท่านเอาไว้ด้วย

4. หน้าคีย์สีขาว (White top Key) เป็นของใหม่หรือเปล่า? เท่าที่ผมสังเกตุร้านเปียโนส่วนใหญ่จะเก็บหน้าคีย์เดิมไว้ ไม่ยอมเปลี่ยนใหม่ อย่างไรก็ตาม หน้าคีย์เก่าเหล่านี้มักจะมีรอบขีดข่วน และจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือมีร่องรอยเสียหายอื่นๆ มีภาพแสดงดังนี้

5. หัวค้อนของเปียโนหลังนี้มสภาพอย่างไร ที่ท่านสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าบ้าง? ที่หัวค้อนมีร่องลึกที่เกิดจากการที่หัวค้อนเคาะลงบนสายเปียโนหรือเปล่า? หัวค้อนของเปียโนหลังนี้ได้รับการขัดมาใหม่ (reshaped) และได้รับการปรับแต่งโทนเสียงใหม่ (revoiced) หรือยัง?

หัวค้อนเปียโนที่ผ่านการใช้งานมาแล้วจะมีร่องตรงตำแหน่งที่เคาะกับสาย ขั้นตอนการขัดหัวค้อน (reshaped) หรือ การปรับแต่งโทนเสียง (Revoiced) เป็นขั้นตอนการปรับหัวค้อนจากสภาพเดิมให้ดีขึ้นด้วยการขัด (reshaped) และปรับแต่งผิวรอบหัวค้อน (Revoiced) อย่างระมัดระวัง เพื่อแต่งเสียง และแก้ปัญหาที่เกิดจากหัวค้อน และเพื่อปรับสภาพหัวค้อนให้อยู่ในสภาพดีดังเดิม โดยจะปรับให้จุดที่หัวค้อนตีกับสายมีความเหมาะสมที่สุด เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุด ร้านเปียโนมือสองที่ดีต้องขัดหัวค้อนทั้ง 88 อันให้ครบ และต้องทำการปรับเสียงที่หัวค้อน (voicing) ใหม่อย่างละเอียดด้วยเพื่อให้ได้เสียงที่มาตรฐาน *ขอขอบคุณ ปีเตอร์สัน เปียโน สำหรับภาพถ่ายของหัวค้อนที่ผ่านการปรับแต่งแล้ว อย่างไร ก็ตามท่านควรทราบด้วยว่า โดยปกติหัวค้อนของเปียโนใหม่ ก็จะมีร่องเล็กๆบนหัวค้อนอยู่เช่นกัน สาเหตุที่เปียโนใหม่มีร่องบนหัวค้อนเหมือนเปียโนที่ผ่านการใช้แล้ว ก็เพราะว่าร่องเล็กๆเหล่านี้เป็นตัวช่วยสร้างโทนเสียงที่เหมาะสม ไพเราะให้แก่เปียโน โรงงานผู้ผลิตเปียโนใหม่จึงได้สร้างเครื่องจักรอัตโนมัติขึ้นมาโดยตั้งไว้ อยู่ข้างหน้าเปียโน เพื่อเล่นคีย์เปียโนซ้ำไปซ้ำมาให้ครบทั้ง 88 คีย์ เป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อให้เกิดร่องบริเวณหัวค้อนขึื้น และเพื่อสร้างเสียงที่ทางผู้ผลิตเปียโนต้องการ (ภาพข้างบนแสดง หัวค้อนที่ดีของเปียโน yamaha u3 ที่ยังจำเป็นต้องมีร่องเล็กๆ ที่ด้านบนของหัวค้อนอยู่)

6. สักหลาดสีขาวที่เป็นส่วนประกอบของกระเดื่องกลาง (middle pedal หรือ practice pedal) ได้รับการเปลียนใหม่หรือยัง? ร้านเปียโนส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมเปลี่ยนสักหลาดนี้ให้ใหม่ กระเดื่อง กลาง (middle Pedal) หรือ practice pedal มีหน้าที่ลดเสียงเปียโนให้เบาลง (Muting) เพื่อท่านจะสามารถซ้อมเปียโนได้โดยไม่รบกวนเพื่อนบ้าน หรือคนที่พักอาศัยอยู่กับท่าน เมื่อท่านเหยียบกระเดื่องนี้ สักหลาดสีขาวลดระดับลงไปอยู่หน้าหัวค้อน เพื่อกันไม่ให้หัวค้อนเคาะที่สายโดยตรง แต่เมื่อท่านใช้เปียโนไปหลายๆปี สักหลาดนี้สามารถเกิดการผิดรูปผิดร่าง และทำงานไม่สมบูรณ์ได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสักหลาดสีขาวนี้เสมอ เพื่อให้เปียโนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ร้านปีเตอร์สันที่ว่านี้ อยู่ตรงสุขุมวิท 26 รึเปล่าคะ?

    • ยินดีครับ คุณ TT ร้าน ปีเตอร์สัน เปียโน อยู่ริมถนนสุขุมวิท ระหว่างสุขุมวิทซอย 26 และซอย 28 ถ้ามารถไฟฟ้าก็ลงที่ BTS พร้อมพงษ์ อยู่ฝั่งเดียวกับ ดิ เอมโพเรียม ถ้าขับรถไป ก็มีที่จอดรถอยู่ด้านข้างร้านครับ ถ้าหาไม่พบ โทรไปถามที่่ร้าน เบอร์โทร 02-661-2160-1 ครับ

  2. ตรงประเด็น เป็นประโยชน์ มาก
    ขอแสดงความนับถือ

Leave a reply to TT Cancel reply